วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


                       ศาสนาของประชาชนในประชาคมอาเซียน

 
 
ศาสนานอกจากจะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชนและประเทศนั้นๆ แล้ว ยังเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งและควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดำเนินไปตามครรลองหรือบรรทัดฐานของสังคม โดยปราศจากการพันธนาการ ดังนั้น ศาสนา จึงเป็นประดิษฐกรรมทางความคิดอันสูงส่ง

และมีคุณูปการต่อโลกและมนุษยชาติทั้งมวล บทความนี ้ให้ความสำคัญศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน อย่างไรก็ตามก่อนที่จะกล่าวถึงศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ควรจะทำความเข้าใจภาพรวม เพื่อเป็นพื้นฐานการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นเสรีภาพและหลักการพื้นฐานที่ประชาชนและรัฐสมาชิกอาเซียนจะต้องเคารพในวัฒนธรรม ภาษาและศาสนาที่แตกต่างกัน และสร้างความเป็นเอกภาพในความหลากหลายดังกล่าว เพื่อความมั่นคงของประชาคมอาเซียนโดยทั่วไป ศาสนา แปลว่า คำสอนและหมายความถึง คำสั่งด้วย จึงเรียกรวมกันว่า คำสั่งสอนอย่างไรก็ตามมีการให้ความหมายและความสำคัญของศาสนาไว้โดยปราชญ์ทางศาสนามากมายดังนี้ ศาสนา คือ ลัทธิความเชื่อของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้นๆ คำสอน หลักธรรม หรือลัทธิที่ศาสดาแห่งศาสนาใดศาสนาหนึ่งได้บัญญัติขึ้น หรือได้ประกาศสถาปนาขึ้น โดยมีบุคคลในสังคมใดสังคมหนึ่ง ได้ให้ความศรัทธา เลื่อมใสและยึดเป็นหลักปฏิบัติตน คำสอนหรือคำสั่งสอนที่จะเรียกว่าเป็นศาสนา ต้องมีลักษณะหรือมีองค์ประกอบ คือ มีศาสดา หรือผู้ก่อตั้งริเริ่มคิดค้นหลักคำาสอนจนสามารถตั้งเป็นกฎเกณฑ์แน่นอนและนำไปสั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ มีคำสอน คือ หลักธรรม อันเป็นคำสอนเกี่ยวกับหลักศีลธรรม จรรยา เว้นความชั่วทำความดี ปลูกฝังความเชื ่อในอำนาจที ่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือเชื่อผลของการกระทำหรือกรรม มีสาวก หรือผู้ปฏิบัติตาม คือ ผู้เลื่อมใสศรัทธาและปฏิบัติตามคำสอนของศาสดานั้นๆ โดยถือเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต มีการสืบทอดศาสนาในรูปของนักบวช เช่น พระภิกษุ และหรือบาทหลวง เป็นต้น มีพิธีกรรมของศาสนา เช่น การอุปสมบท การละหมาด การรับศีลล้างบาป มีศาสนสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สุเหร่า หรือมัสยิดตามที่ศาสนานั้นๆ เรียกขาน ศาสนาสำคัญของโลกในปัจจุบันประกอบด้วย ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม โดยศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้แถบประเทศสาธารณรัฐอินเดียและปากีสถาน มีอายุมากกว่า ๕,๐๐๐ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่ นับถือ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินเดียและเนปาล ส่วนศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเก่าแก่เป็นอันดับที่ ๒ เกิดหลังศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒,๐๐๐ ปี มีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐอินเดียและเนปาล เกิดก่อนศาสนาคริสต์ประมาณ ๕๔๓ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือ ได้แก่ ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐศรีลังกา

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐกัมพูชา สาธารณรัฐสิงคโปร์ และภูฏาน เป็นต้น สำหรับศาสนาที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ ๓ มีแหล่งกำเนิดแถบประเทศปาเลสไตน์และอิสราเอล หลังพุทธศาสนา ๕๔๓ ปี ประเทศที่มีประชากรนับถือเป็นศาสนาประจำชาติหลายประเทศทั่วโลก สำหรับศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาเก่าแก่เป็นอันดับที่ ๔ มีแหล่งกำเนิดในนครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หลังศาสนาพุทธ ๑,๑๑๓ ปี และหลังศาสนาคริสต์ ๖๐๐ ปี ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐปากีสถาน และสาธารณรัฐบังคลาเทศ

 ศาสนาหลักของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน

รัฐสมาชิกอาเซียนที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา ๙๕% ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย  ประชาชนลาว ๗๕% ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ๙๐% ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๔๒.๕% ราชอาณาจักไทย ๙๕% และประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๗๐% นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบด้วยประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๖๗% ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๘๗% และประเทศมาเลเซีย ๖๐.๔% นับถือศาสนาคริสต์ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ๙๒% นอกจากนี้ยังนับถือศาสนาพุทธ ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงในประเทศมาเลเซีย ๑๙.๒% และประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๑๓% ศาสนาคริสต์ ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ๑๕% ประเทสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๔.๕% ประเทศมาเลเซีย ๑๑.๖% และประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม ๑๐% อิสลาม ๑๐% ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ๑๔.๕% ประชาชนในรัฐสมาชิกอาเซียนดังกล่าวข้างต้น ได้ยึดหลักการสำคัญของศาสนาที่ตนเองนับถือซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตหรือแบบแผนของการดำเนินชีวิต ศิลปะ สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ตลอดจนการเมืองการปกครองประเทศอย่างเป็นอัตลักษณ์ที่เด่นชัดของแต่ละประเทศ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาของประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเข้าไปสู่หัวใจของประชาชาตินั้น และเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา ภายใต้เสาหลักของประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ซึ่งเกื้อกูลและเกื้อหนุนต่อประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-APSV) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC)แนวทางการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศภาคีสมาชิกศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ล้วนถือกำเนิดขึ้นในทวีปเอเชีย กล่าวคือ ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามถือกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธถือกำเนิดในประเทศเอเชียใต้และแพร่หลายเข้ามาแทนที่ความเชื่อและการเคารพนับถือของประชาชนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมตัวกันเป็นอาเซียนและจะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนใน พ.ศ.๒๕๕๘ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อถือทางศาสนาของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนั้นๆ จึงเป็นวิถีทางหรือพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่จะเข้าไปสู่หัวใจของประชาชาตินั้นๆ

 

ศาสนาของประชาชนในประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม                                                                                   ประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาราม เดิมประชาชนนับถือความเชื่อที่สืบทอดกันมาตามประเพณี ต่อมาได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธจากอาณาจักรศรีวิชัย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ซึ่งมีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซียทั้งหมด อาณาจักรศรีวิชัยนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลง ศาสนาอิสลามเข้ามาแทนที่และกลายเป็นศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือและเป็นศาสนาประจำชาติ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ ๖๗% และเป็นศาสนาประจำชาติ ศาสนาพุทธ ๑๓% และศาสนาคริสต์ ๑๐% ที่เหลือนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ศาสนาของประชาชนในราชอาณาจักรกัมพูชา                                                                                          ราชอาณาจักรกัมพูชานั้น ความเชื่อดั้งเดิมของประชาชน คือ นับถือตามบรรพบุรุษ ได้แก่ นับถือโลกธาตุ ดิน น้ำลม ไฟ และผี ต่อมาได้รับเอาวัฒนธรรมอินเดียมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยศาสนาแรกที่ประชาชนนับถือ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ต่อมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานและเถรวาทตามลำดับ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งเริ่มเมื่อ พ.ศ.๑๗๒๔ ได้ทรงทำนุบำรุงศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองและได้รับการนับถือจากประชาชนทุกระดับตั้งแต่กษัตริย์ลงมา และเป็นศาสนาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชาในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๙๕% นับถือศาสนาอิสลาม ๓% ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

 

ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย                                                                                     ความเชื่อดั้งเดิมของประชาชนมีลักษณะเช่นเดียวกันกับประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นับถือตามบรรพบุรุษสืบกันมาตามประเพณี ศาสนาพุทธได้แพร่หลายและหรือเผยแพร่เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียในปัจจุบัน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ โดยพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ของอินเดียได้ส่งพระโสภณพระอุตตรเถระเป็นมรณะทูตเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้ที่รู้จักกันในนามสุวรรณภูมิ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้เกิดอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่อาณาจักรหนึ่ง ชื่อ อาณาจักรศรีวิชัยนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน โดยพบหลักฐานทางโบราณวัตถุที่สำคัญจำนวนมาก ได้แก่พระพิมพ์ดินดิบและรูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งสร้างขึ้นตามความคติความเชื่อของผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พุทธศตวรรษที ่ ๑๕ อาณาจักรศรีวิชัยบนเกาะชวาภาคกลางได้ติดต่อสัมพันธ์กับแคว้นเบงกอล โดยส่งพระภิกษุและช่างฝีมือมาเผยแผ่พุทธศาสนาและศิลปะแบบปาละ โดยการสร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในดินแดนแห่งนี้และมีพุทธสถานที่สำคัญหลายแห่งที่แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียในอดีต โดยเฉพาะพุทธศาสนสถานบุโรพุทโธ/โบโรบุดูร์(บรมพุทโธ) ซึ่งตั้งอยู่ที่ราบเกฑุ (kedu) ในภาคกลางของชวา และพระวิหารเมนดุต (Mendut) ต่อมาใน พ.ศ.๒๐๑๒ ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศสาธาณรัฐอินโดนีเซีย ศาสนาพุทธตกอยู่ในภาวะเสื่อมถอยลงมาและกลายเป็นศาสนาของชนกลุ่มน้อยในที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ๘๗% นับถือศาสนาคริสต์ ๙.๕% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๑.๘% และศาสนาพุทธ ๑.๓%ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัยที่ได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้แผ่เข้าสู่ประเทศมาเลเซียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ แต่ไม่แพร่หลายนัก ต่อมาในพุทธศตวรรษาที่ ๑๒ ได้รับอิทธิพลศาสนาพุทธนิกายมหายานจากอาณาจักรศรีวัย ต่อมาศาสนาอิสลามได้เข้ามาเผยแพร่หลายอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในสมัยรพะเจ้าปรเมศวร แห่งอาณาจักรมะละกาเป็นต้นมา ทำให้ศาสนาพุทธหมดความสำคัญลงประเทศมาเลเซีย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ๖๐.๔% นับถือศาสนาพุทธ ๑๙.๒% ศาสนาคริสต์ ๑๑.๖% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๖.๓% และอื่นๆ ๒.๕%

ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์                                                      ศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ของอินเดีย พบว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้เจริญรุ่งเรืองและประดิษฐานมั่นคงสืบมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๖ เพราะได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลีระบุว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้เข้ามาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชดังกล่าวแล้ว โดยได้รับการทำนุบำรุงจากกษัตริย์และประชาชนสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๙๐% และเป็นศาสนาประจำชาติ นับถือศาสนาคริสต์ ๕% ศาสนาอิสลาม ๓.๘% และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๐.๐๕%

ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว                                                     ประมาณ พ.ศ.๖๑๒ ประชาชนนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พ.ศ.๑๒๙๐ กลับไปนับถือลัทธิพื้นเมือง คือนับถือผีตามที่บรรพบุรุษสืบทอดมา ซึ่งบางส่วนยังคงนับถือสืบทอดมาจนปัจจุบัน พ.ศ.๑๘๙๖ กษัตริย์ของลาวขณะนั้น (อาณาจักรล้านช้าง) ส่งทูตไปทูลขอนิมนต์พระสงฆ์จากอาณาจักรเขมรเข้ามาเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทในอาณาจักรล้านช้าง จนศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่นคงสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๗๕% และเป็นศาสนาประจำชาติ นับถือศาสนาคริสต์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน และนับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ ๓๐๐ คน ที่เหลือนับถือผี ๑๖-๑๗%ศาสนาของประชาชนในประเทศมาเลเซียในอดีตประเทศมาเลเซียเคยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธมา

ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์                                                                                       เดิมประชาชนได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมและพุทธศาสนาจากอาณาจักศรีวิชัยในสมัยเรืองอำนาจ ที่ได้แผ่ขยายมาจนถึงประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในพุทธศตวรรษที่ ๗ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ตามมาด้วยศาสนาพุทธนิกายมหายานระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในขณะที่เมืองขึ้นของประเทศสเปนและสหรัฐอเมริกาได้รับอิทธิพลทางศาสนาคริสต์จากประเทศเจ้าของอาณานิคมอย่างกว้างขวางทั่วทั้งประเทศ ส่วนทางภาคใต้ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลาม และเมื่อชาวอินเดียและปากีสถานอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานก็ได้นำศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเข้ามาด้วย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ๙๒% ศาสนาอิสลาม ๕% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๒% และศาสนาพุทธ ๑.๕%

ศาสนาของประชาชนรัฐสิงคโปร์

เป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ประชาชนจึงได้รับอิทธิพลทางศาสนาเช่นเดียวกับประเทศมาเลเซีย กล่าวคือ ศาสนาพุทธได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศนี้ตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ศาสนาพุทธนิกายมหายานจึงเจริญมั่นคงเนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเลเจ้ามาตั้งรกรากในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ก็มีชาวมาเลย์ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามและชาวอินเดียซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๔% ไม่นับถือศาสนา ๒๕% ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ๔๒.๕% ศาสนาอิสลาม ๑๔.๙% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๔% ไม่นับถือศาสนา ๒๕%

ศาสนาของประชาชนในราชอาณาจักรไทย

ก่อนที่ศาสนาพุทธจะเข้ามาสู่ราชอาณาจักรไทย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือลัทธิพื้นเมืองตามที่สืบทอดกันมา ศาสนาพุทธเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นราชอาณาจักรไทยปัจจุบันในพุทธศตวรรษที่ ๓ โดยพระสมณทูตพระโสภณเถระและพระอุตรเถระที่พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ของอินเดียส่งเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยทั้งด้านวรรณกรรมและพิธีกรรมในราชสำนัก อีกศาสนาหนึ่งคือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และเชื่อว่าเข้ามาก่อนสมัยสุโขทัย เนื่องจากพบโบราณสถานและรูปสลักเทพเจ้าซึ่งสร้างขึ้นตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นจำนวนมากในราชอาณาจักรไทย โดยโบราณสถานและรูปสลักเทพเจ้าดังกล่าวมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ หรือเก่ากว่านั้น อย่างไรก็ตามกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้ทำนุบำรุงศาสนาพุทธนิกายเถรวาทให้เจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่นคงสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ๙๕% เป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย ทั้งนี้เพราะมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๙ ว่าระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม ๔% ศาสนาคริสต์และอื่นๆ ๑%

ศาสนาของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ประชาชนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางศาสนาผ่านทางประเทศจีน โดยเริ่มแรกลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ ได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศเวียดนามก่อน จนถึง พ.ศ. ๗๓๒ คณะธรรมทูตจากประเทศจีนหลายคณะจึงได้ไปเผยแพร่และประดิษฐานศาสนาพุทธนิกายมหายาน และได้รับการฟื้นฟูใน พ.ศ.๑๕๑๒ ต่อมาได้รับการนับถืออย่างแพร่หลาย โดยกษัตริย์ของเวียดนามทรงเอาใจใส่ทำนุบำรุงพุทธศาสนาเป็นอย่างดีจนตกทอดมาถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ๗๐% นับถือศาสนาคริสต์ ๑๕% ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลามและลัทธิขงจื๊อ

ศาสนาในประเทศมาเลเซีย

ส่วนใหญ่ของศาสนาที่เด่น ๆ ของโลกจะถูกแสดงและตามด้วยผู้อยู่อาศัยของประเทศมาเลเซีย ศาสนาเช่นอิสลามพุทธฮินดูซิกข์, เต๋า, ขงจื้อและศาสนาคริสต์มีค่อนข้างมากในการแสดงตนของประเทศนี้ ความเชื่อและการปฏิบัติของศาสนาเหล่านี้ได้ให้มาเลเซียอักขระเชื้อชาติที่แตกต่างอย่างมาก การปฏิบัติทางศาสนาที่แตกต่างกันในประเทศมาเลเซียได้หล่อเลี้ยงสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งเป็นหลายเชื้อชาติและหลายมิติ

อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติและศาสนาที่โดดเด่นที่สุดของมาเลเซีย เกี่ยวกับร้อยละ 58 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศมาเลเซียปฏิบัติศาสนาอิสลาม ในความเป็นจริงมากที่สุดของผู้ติดตามของศาสนาอิสลามเป็นมาเลเซีย เนื่องจากความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งหุ้นประเทศที่มีประเทศจีนประมาณ 27 เปอร์เซ็นต์ของคนจากประเทศมาเลเซียเป็นผู้ติดตามของพุทธศาสนา เกี่ยวกับ 8% ของประชากรเป็นชาวฮินดูศาสนาฮินดูมีประสบการณ์ส่วนใหญ่โดยมีประชากรอินเดียที่อาศัยอยู่ในประเทศศาสนาอื่น ๆ เช่นคริสต์ศาสนาเต๋า, ขงจื้อและศาสนาซิกข์ประกอบด้วยประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด ศาสนาคริสต์ได้ทำผลกระทบที่มีขนาดใหญ่เมื่อมาเลเซียตะวันออกในการเปรียบเทียบกับคาบสมุทรมาเลเซีย คนพื้นเมืองหลายแห่งในมาเลเซียตะวันออกได้ปรับศาสนาคริสต์เป็นศาสนาของพวกเขา
ทั้งๆที่มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามเด่นสถานะของเสรีภาพทางศาสนาหรือเสรีภาพในการนับถือศาสนาใด ๆ ที่ได้รับการรับประกันโดยรัฐธรรมนูญของประเทศ นี้ได้รับผลกระทบจากสังคมที่มีขนาดใหญ่สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางเชื้อชาติที่กฎหมายหรือสัญญาใน
ประเทศ ดังนั้นศาสนาในมาเลเซียเล่นเป็นส่วนสำคัญมากในการดำเนินชีวิตของประชาชน มีมัสยิดจำนวนมากศาลเจ้าโบสถ์และวัดทั่วประเทศมาเลเซีย
นางสาวนริศรา      ชมาลัย   ชั้นม.5/1    เลขที่28